ชะอม เป็นพืชจำพวกอาเคเซีย นิยมรับประทานในทุกภาคของไทย เป็นพืชยื่นต้น ใช้ใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลอดทั้งปี พืชอีกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศ ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์ย่อยกับชะอมคือผักคา ภาษาอีสานมัก ปลูกโดย การปักชำ เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ได้ต่อตาหรือชำกิ่ง ส่วนมากใช้การเพาะเมล็ด เนื่องจากได้ต้นที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศและยังมีหนามมากกว่าการปลูกด้วยวิธีปลูกแบบอื่น
วันนี้เราจะมาสอนแกล้งมะยมให้แตกยอดนอกฤดูกันค่ะ
เคล็ดลับนี้ เขียนเอาไว้ในหนังสือ Gargdn&Farm Vol.12 อยู่อย่างพอเพียงด้วยเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเทคนิคที่น่าสนใจและวิธีการก็ง่ายมากๆ คือ
ก่อนเข้าหน้าหนาวประมาณครึ่งเดือน น่าจะประมาณราวๆ ปลายฝนต้นหนาว(ก.ย. – ต.ค.) ให้สังเกตุต้นชะอมที่เราปลูกไว้โดยให้ดูว่าตาของต้นชะอมแข็งแรงสมบูรณ๋เติบโตดีหรือเปล่า ถ้าหากดูแล้วมันไม่ค่อยดี แคระแกรน ไม่ ส ม บู ร ณ์ ก็ใ ห้ บำ รุ ง น้องก่อนด้วย ปุ๋ ย คอก( ขี้ ไ ก่, มูลวัว เป็นต้น) และ ปุ๋ ย พืชสด
กำจัดหญ้าหรือ วั ช พื ช รอบๆ ต้นชะอมให้หมด
จากนั้นเลือกกิ่งที่คิดว่าดีที่สุด แก่ดีแล้ว ให้เราเอามีด ฟั น ต้นและกิ่งให้เหลือต้นสูงจากพืื้นดินแค่ประมาณ 1 เมตร เพื่อให้ได้ชะอมต้นเตี้ยและสะดวกสบายในการเก็บยอดชะอม
โดยเคล็ดลับคือ ฟั น กิ่งและโน้มลงในทิศทางตรงกันข้ามกับแสงอาทิตย์
เพื่อให้ชะอมได้รับแสงเต็มที่และทั่วถึงกัน อีกทั้งยังช่วยให้บาดแผลกิ่งที่เรา ฟั น สมานเร็วขึ้นด้วย
รอระยะเวลาให้ถึง 3 วัน หลังจาก ฟั น กิ่งแล้วค่อยรดน้ำ ทุกวันต่อเนื่องตลอด 1 อาทิตย์ หรือจนกว่าเราจะสังเกตุเห็นใบเริ่มเหี่ยว มีสีเหลือง และร่วง จึงเริ่มให้น้ำวันเว้นวัน
อย่าให้แฉะ หรือรดน้ำมากเกินไปเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดปัญหา ร า ก เ น่ า ตามมาอีก
ทำแบบนี้วันเว้นวันจนครบ 1 อาทิตย์ เราจะเริ่มเห็นว่าชะอมเริ่มแตกยอดแล้ว ตอนนี้แหล่ะ สามารถเก็บยอดไปกินหรือแบ่งไปขายได้เลย
วิธีการนี้ นอกจากชะอมแล้ว เรายังสามารถใช้กับพืชอื่นดได้ด้วยเช่น มะยม ปริญญายังเคยลองกับต้นมะยม แล้วด้วย ลูกดกเต็มต้นเลย
ไอเดียนี้ดีนะ การที่เรา ฟั น ยอดมันทิ้ง ทำให้มันตกใจว่ามันกำลังจะตาย มันเลยรีบแตกยอดใหม่ แต่ต้องทำตามขั้นตอนและระวังอย่าให้รากเน่าเด็ดขาด อีกทั้ง อย่าทำแบบนี้ในหน้าฝน ให้รอปลายฝนต้นหนาว สักประมาณครึ่งเดือน ค่อยเริ่มทำได้
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จาก ลุงมนู กาญจนะ วัย 65 ปี Smart Farmer ดีเด่นประจำปี 2559 ของจังหวัดแพร่ เขียนไว้ใน หนังสือ Gargdn&Farm Vol.12 อยู่อย่างพอเพียงด้วยเศรษฐกิจพอเพียง