“ขยันทำงานเก็บเงินมาทั้งชีวิต หวังว่าจะเก็บไว้ใช้หลังเกษียณและที่เหลือก็ส่งต่อไปย้งลูกหลาน” ไม่มีใครรู้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปวันไหน คนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้เตรียมตัววางแผนและปล่อยให้เวลาผ่านไปจนถึงวันที่ตัวเองเสียชีวิตลงและมรดกถูกแจกจ่ายไปยังทายาท ยิ่งมรดกมีมูลค่ามากก็จะยิ่งเกิดภาระทางภาษีแก่ผู้รับมรดกมากขึ้นตามไปด้วย
สวัสดีค่ะ วันนี้ปริญญาชีวิตมีความรู้ดีๆ มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ กับบทความ 5 ทรัพย์สินได้มาแล้วต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะหลายๆ คนก็ต้องเคยได้รับมาบ้าง นั่นก็คือมรดก ซึ่งในประเทศของเรามีการจัดเก็บภาษีมรดกด้วยค่ะ
ตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก คือ ผู้รับมรดกที่ได้มรดกสุทธิหลังหักภาระติดพันต่างๆ แล้ว เช่น ภาระจำนอง ฯลฯ จากเจ้ามรดกแต่ละรายในคราวเดียวหรือหลายคราว ให้เสียภาษีเฉพาะมูลค่ามรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราภาษีร้อยละ 10
แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานก็ให้เสียภาษีในอัตราภาษีร้อยละ 5 ไม่คำนึงถึงจำนวนครั้ง หรือ จำนวนหน่วยของทรัพย์มรดกที่ได้รับ
ทรัพย์มรดกที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน ได้แก่
– อสังหาริมทรัพย์
– หลักทรัพย์
– เงินฝาก
– ยานพาหนะ
– ทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด
ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ เสียภาษี การรับมรดก
– บุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล)
– บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถื่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือได้รับทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
– ขณะที่ ผู้มีสิทธิได้รับ ยกเว้น ภาษีการรับมรดก
– ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
– คู่สมรสของเจ้ามรดก
– บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา – หรือกิจการสาธารณประโยชน์
– หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
– บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
“4 ขั้นตอนวางแผนมรดกเพื่อลูกหลาน”
1 ทำบัญชีทรัพย์สินอยู่เสมอ
2 ศึกษากฎหมายภาษีมรดกและภาษีจากการให้
3 วางแผนการมอบมรดก
4 เลือกส่งต่อมรดกเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีและเรียกเก็บภาษีให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม หากเราไม่เสียภาษีตามกำหนด อธิบดีกรมสรรพากรก็จะมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาล ดังนั้น จึงควรวางแผนภาษีมรดกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอย่าลืมว่า “หลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก ถือเป็นความผิดอาญา”
เรียบเรียงโดย painyacheewit.com