เจ้าของบัญชีเสียชีวิต ต้องทำยังไงกับเงินในบัญชี มีคำตอบที่นี่!
ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เราจะได้จัดการเรื่องนี้ได้โดยไม่ต้องสงสัย ปกติแล้วเมื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากเสียชีวิต ตามที่กฎหมายกำหนด ทายาทหรือผู้มีสิทธิในการรับมรดกจะมีสิทธิในการติดต่อกับธนาคารเพื่อจัดการบัญชีเงินฝากของผู้เสียชีวิตได้ทั้งการถอนเงิน หรือปิดบัญชีเงินฝากนั้นได้ เพราะเงินฝากในบัญชีธนาคารของผู้เสียชีวิต เป็นหนึ่งในทรัพย์มรดกที่สามารถส่งต่อให้กับทายาทได้
หากเจ้าของบัญชีเสียชีวิต ปฏิบัติดังนี้
การจัดการบัญชีเงินฝากของผู้เสียชีวิตนั้น ผู้มีสิทธิในการรับมรดกจะสามารถติดต่อกับทางธนาคารเพื่อ ถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝาก ปิดบัญชีเงินฝาก หรือยกบัญชีเงินฝากนั้นเป็นของตนได้
โดยผู้ที่จะสามารถติดต่อเพื่อจัดการบัญชีเงินฝากของผู้เสียชีวิตกับทางธนาคารได้ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ทายาทโดยธรรม หรือผู้มีสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมายที่เป็นญาติร่วมสายเลือดเดียวกัน รวมถึงคู่สมรสด้วย แบ่งออกตามลำดับคือ
คู่สมรส และผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน เหลน ของผู้เสียชีวิต
บิดา มารดา ของผู้เสียชีวิต
พี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้เสียชีวิต
พี่น้อง ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันกับผู้เสียชีวิต
ปู่ ย่า ตา ยาย ของผู้เสียชีวิต
ลุง ป้า น้า อา ของผู้เสียชีวิต
ทายาทโดยพินัยกรรม หรือผู้มีสิทธิในการรับมรดก ตามที่ผู้เสียชีวิตได้ระบุชื่อผู้รับพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ซึ่งพินัยกรรมที่ใช้อ้างสิทธิในการรับมรดกจะต้องมีผลถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น โดยมีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
1.พินัยกรรมแบบธรรมดา ทำเป็นหนังสือแจกแจงรายละเอียด ที่จะใช้การเขียนหรือพิมพ์ก็ได้และลงวันที่ชัดเจน โดยจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำด้วย
2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ เป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมได้เขียนขึ้นด้วยลายมือทั้งฉบับ โดยลงวันที่และลายมือชื่อเอาไว้ด้วย ซึ่งจะมีหรือไม่มีพยานรับรองก็ได้
3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เป็นการไปทำพินัยกรรมที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยต้องไปทำที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เป็นพินัยกรรมที่ใช้การเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ พร้อมลงลายมือชื่อ จากนั้นใส่ซองปิดผนึกแล้วลงลายมือชื่อกำกับในจุดที่ปิดผนึก จากนั้นนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม ลงวันที่ ประทับตรา พร้อมลงลายมือชื่อ
5.พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กล่าวมาได้ เช่น อยู่ในสถานที่อันตราย อยู่ในภาวะสงคราม เป็นต้น โดยผู้ทำพินัยกรรมจะกล่าวเป็นคำพูดต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน จากนั้นพยานต้องไปติดต่อที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอให้เร็วที่สุด เพื่อบันทึกข้อมูล ลงวันที่ ระบุสถานที่ที่ทำพินัยกรรม
เอกสารที่ต้องใช้ในการจัดการบัญชีเงินฝากของผู้เสียชีวิต
การติดต่อเพื่อจัดการบัญชีเงินฝากของผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินออกจากบัญชี หรือปิดบัญชีเงินฝาก
ทายาทที่มีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินของผู้เสียชีวิต สามารถติดต่อกับธนาคารตามสาขาบนสมุดคู่ฝากของเจ้าของบัญชี โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย ได้แก่
หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
สำเนาบัตรประชาชนของผู้จัดการมรดก
สมุดคู่ฝากของผู้เสียชีวิต
ใบมรณะบัตร
สำหรับทายาทไม่มีสมุดคู่เงินฝาก และไม่ทราบเลขบัญชีเงินฝาก จะต้องใช้จดหมายแจ้งตรวจสอบข้อมูลบัญชีของเจ้าของบัญชีร่วมด้วย เพื่อให้ทางธนาคารค้นหาเลขบัญชีพร้อมสาขาที่เปิดบัญชีเอาไว้
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เป็นพินัยกรรมที่ใช้การเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ พร้อมลงลายมือชื่อ จากนั้นใส่ซองปิดผนึกแล้วลงลายมือชื่อกำกับในจุดที่ปิดผนึก จากนั้นนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม ลงวันที่ ประทับตรา พร้อมลงลายมือชื่อ
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กล่าวมาได้ เช่น อยู่ในสถานที่อันตราย อยู่ในภาวะสงคราม เป็นต้น โดยผู้ทำพินัยกรรมจะกล่าวเป็นคำพูดต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน จากนั้นพยานต้องไปติดต่อที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอให้เร็วที่สุด เพื่อบันทึกข้อมูล ลงวันที่ ระบุสถานที่ที่ทำพินัยกรรม
ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีและขั้นตอนที่หลายๆคนยังไม่รู้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนได้เลยจ้า
แหล่งที่มา sanook