ปกติแล้วหากจะพูดถึงการสอบเปรียญธรรม คนส่วนใหญ่น่าจะคิดว่า มีเพียงพระภิกษุสามเณรเท่านั้น หรือ หากเป็นฆราวาส ก็น่าจะเป็นผู้ชาย ที่จะศึกษาธรรมะ จนถึงขั้นสอบได้ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค แต่วันนี้ปริญญาชีวิตจะพาไปรู้จักกับหญิงสาวคนหนึ่ง ที่สามารถสอบ “เปรียญธรรม 9 ประโยคหญิงคนแรก” ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น
“สุกัญญา เจริญวีรกุล” ปัจจุบันอายุ 27 ปี ชาติภูมิ เกิดวันที่ 30 เดือน 4 ปีจอไม้ 2121 (วันพระสุดท้ายของเดือนวิสาขบูชา) ตามปฏิทินทิเบต
ถือเป็นอีกหนึ่งเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับใครหลายๆ คนได้ ด้วยจิตใจที่แน่วแน่และตั้งใจ ทางด้านการศึกษา บ า ลี
คุณสุกัญญา เจริญวีรกุล นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ใช้เวลาศึกษาบันทึกคัมภีร์พระพุทธ ศ า ส น า มาตั้งแต่ยังเล็ก
ทั้งภาษา บ า ลี สันสกฤต และทิเบต จนสามารถสอบ บ า ลี ได้ 9 ประโยค ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปี กับอีก 3 เดือนเท่านั้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีอายุเพียงแค่ 25 ปีเท่านั้น
ด้วยความที่เธอชื่นชอบการอ่านหนังสือคัมภีร์พระพุทธ ศ า ส น า มาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เธอมีความตั้งใจที่จะศึกษาภาษา บ า ลี สันสกฤต และภาษาทิเบต รวมทั้งยังต้องการเป็นนักแปลคัมภีร์พระพุทธ ศ า ส น า อีกด้วย
และเริ่มศึกษาอย่างจริงจังตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ ม.4 เทอมที่ 2 และทางบ้านก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ คอยให้กำลังใจ ส่งเรียนพิเศษ บ า ลี ไวยากรณ์อีกด้วย
โดยการเริ่มไปเรียนตามวัดต่างๆ
ประวัติคร่าวๆ
– จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนการเรียนภาษา-ฝรั่งเศส และโครงการพัฒนาความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย (Gifted-ไทย)
– จบการศึกษาที่ คณะอักษรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– เคยเข้าศึกษาภาคฤดูร้อน วิชาภาษาทิเบตคลาสสิกระดับสูงจาก Rangjung YesheInstitute, Centre for Buddhist studies, Kathmandu University ประเทศเนปาล มาแล้ว
– ขณะนี้กำลังเรียนต่อทางด้านวิชาภาษา บ า ลี สันสกฤตและพุทธศาสน์ศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ (โทควบเอก)
– กำลังทำวิทยานิพนธ์ ศึกษาเปรียบเทียบพระสูตรภาษาทิเบตที่สันนิษฐานว่าน่าจะแปลจากพระปริตร บ า ลี
– ทำงานแปลคัมภีร์พระพุทธ ศ า ส น า ภาษาทิเบต บ า ลี สันสกฤต และแปลล่ามพระธรรมเทศนาจากภาษาทิเบตเป็นภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๕๔ สอบได้บาลีศึกษาประโยค ๑-๒ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (อายุ ๑๖ ปี)
พ.ศ. ๒๕๕๕ สอบได้ บ.ศ.๓ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (อายุ ๑๗ ปี)
พ.ศ. ๒๕๕๖ สอบได้ บ.ศ. ๔ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (อายุ ๑๘ ปี)
พ.ศ. ๒๕๕๗ สอบได้ บ.ศ. ๕ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (อายุ ๑๙ ปี)
พ.ศ. ๒๕๕๘ สอบได้ บ.ศ. ๖ สำนักเรียนวัดสามพระยา (อายุ ๒๐ ปี)
พ.ศ. ๒๕๕๙ สอบได้ บ.ศ.๗ สำนักเรียนวัดสามพระยา (อายุ ๒๑ ปี)
พ.ศ. ๒๕๖๐ สอบได้ บ.ศ. ๘ สำนักเรียนวัดสามพระยา (อายุ ๒๒ ปี)
พ.ศ. ๒๕๖๓ สอบได้ บ.ศ.๙ สำนักเรียนวัดสามพระยา (อายุ ๒๕ ปี)
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
บ า ลี ศึกษา
เป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนก บ า ลี ภาคสมทบ ใช้หลักสูตรเดียวกันกับเปรียญธรรม มี 8 ชั้น เริ่มต้นที่ชั้นประโยค 1-2 และจบที่ชั้น บ.ศ.9 แต่นักเรียนมีสถานภาพต่างกัน ทำให้วุฒิต่างกัน
เปรียญธรรม 9 ประโยค
(ชื่อย่อ ป.ธ.9) เป็นระดับชั้นสูงสุด ของการศึกษาแผนก บ า ลี ของคณะสงฆ์ไทย ในปัจจุบันภาษา บ า ลี ถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธ ศ า ส น า มีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษา บ า ลี เช่นในพระไตรปิฎก
โดยข้อสอบจะเป็นข้อเขียนทั้งหมด