เปิดใจคุณแม่น้องอิงค์ เลี้ยงลูกแบบไหนให้พูดได้ 5ภาษา จบป.6 สอบติดมหาลัย

น้องอิงค์ ภัสสรา จันทร์โชติเสถียร ในวัย 15 ปี เรียนอยู่ในระดับชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอบเข้าวิศวะได้ตั้งแต่อายุ 13 ปี ลงแข่งขันคอมพิวเตอร์มาหลายรายการ

และยังสามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ จีน เยอรมัน และฝรั่งเศส รวมทั้งสอบ TOEFL ได้คะแนน 111 เต็ม 120 และเธอวางแผนการการศึกษาไว้ว่า เธอจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ภายในอายุ 20 ต้นๆ

ตัวแทนเด็กไทย คว้ารางวัลคอมพ์นานาชาติ ผู้ที่ได้รางวัลใหญ่สุดของการแข่งขันด้วย คือ รางวัล Grand Winner เป็นรางวัลที่ให้แก่ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนการแข่งขันทางด้าน design and engineering สูงที่สุดของทุกรุ่นอายุรวมกัน

“ตอนน้องอิงค์อยู่ ป.2 คุณแม่โดนคุณครูเรียกพบ โดยคุณครูได้แจ้งกับแม่ว่า น้องอิงค์ชอบชวนเพื่อนในห้องคุย แม่ก็ตำหนิน้องว่า ทำไมลูกไปชวนเพื่อนคุย ทำไมไม่ตั้งใจเรียน น้องก็ตอบกลับมาว่า หนูรู้เรื่องหมดแล้วนี่คะแม่”

ความสามารถที่ไม่ธรรมดาของน้องอิงค์ ได้ก้าวกระโดดจากเกรด 6 รร.นานาชาติร่วมฤดี เพื่อสอบเทียบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ตอนอายุ 13 ปี ก่อนจะย้ายมาศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

“เมื่อน้องอายุ 12 อยู่ในช่วงวัยที่จะเข้า ม.1 น้องสามารถสอบผ่านในระดับชั้น ม.6 ได้ ปกติเด็กจะใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเรียนคือ ม.5-ม.6 แต่น้องทำได้ใน 1 เทอม แม่ก็ลองไปสมัครมหาวิทยาลัยให้เขาดู ไปยื่นที่ลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขานวัตกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็ไปยื่นรับตรง น้องก็ผ่านหมดทุกอย่าง แล้วก็ได้ทุน 100 เปอร์เซ็นต์

น้องอิงค์ ได้บอกเล่าว่า “หนูเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งในวันที่สัมภาษณ์ กรรมการ 8 ท่านไม่ทราบมาก่อนว่าหนูอายุเท่าไหร่ แต่พอตรวจรายละเอียดในเอกสารก็พบว่า หนูอายุแค่ 13 ปี ซึ่งพวกท่านก็ตกใจมาก และเข้ามาซักถามถึงที่มาที่ไป”

“ต่อมาไม่นาน หนูได้ย้ายไปอยู่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งตอนนี้อยู่ชั้นปีที่ 2 ค่ะ” นอกจากนี้ แม่หน่อยยังเผยว่า การเลี้ยงลูกจะต้องวางแผนอย่างดีมากๆ หากใครอยากได้ลูกที่แบบนี้ ไม่จำเป็นว่าต้องมี D N A นี้อยู่ในสาย เ ลื อ ด

“ถ้าคุณมาบอกว่าแม่เป็นดอกเตอร์ ลูกก็เรียนได้ นั่นไม่ใช่ แต่มันอยู่ที่เราเลี้ยงเขายังไง ถ้าอยากเลี้ยงได้แบบนี้ 1-6 ปีแรก จะเป็นช่วงสำคัญของการดูแล สำคัญมากๆ ถ้าเราอยากได้ลูกเราแบบไหนใน 6 ปีแรก เราเลี้ยงแบบนั้น แล้วต่อจากนั้นเราไม่ต้องทำอะไรเลยเขาดูแลตัวเขาเอง”

พอช่วงแรกเกิดแม่หน่อยจะฝึกพัฒนาการก่อน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ของเล่นที่มีคนบอกว่าเหมาะสำหรับเด็ก 0-3 เดือน หรือ 3-6 เดือน แม่หน่อยจะไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไหร่ แต่จะมีการเสริมทักษะการเรียนรู้ที่ข้ามขั้นมากกว่า ทำให้ช่วงวัยอนุบาล น้องอิงค์สามารถเข้าใจการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้หมดแล้ว

“ระหว่างเรียนอนุบาลแม่ก็เสริมของประถม ประถมทุกอย่างน้องได้หมดแล้ว พออยู่ประถมแม่ก็เอาของ ม.ต้น มาฝึก ส่วนเรื่องภาษาต่างประเทศ เราก็ต้องดูลูกเราด้วยว่าเขาชอบไหม เราอย่าไปบังคับ

ทั้งนี้ น้องอิงค์ยังเคยทำแบบทดสอบของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งมีการทดสอบเด็ก Talented จากทั่วโลก หากเด็กจากทั่วโลกผ่านการทดสอบนี้สามารถทำคะแนนได้อยู่ในขั้นของเด็ก Talented ก็จะได้ใบเซอร์ว่าเป็นคนมีความสามารถของโลก

“พอแม่ดูแล้วเป็นเด็ก Talented เราก็เอาวิชาการที่เข้มข้นมาให้น้องเรียนภายใน 1 ปี แต่ให้เรียนออนไลน์จากต่างประเทศ เพราะว่าเป็นภาษาอังกฤษ บางทีถ้าติวภาษาไทยน้องเขาก็ไม่เข้าใจตรงกัน ถ้าโจทย์ยากๆ ครูไทยก็จะมีจุดอ่อน น้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษหมดค่ะ”

ถ้าถามถึงข้อเสียของการเรียนแบบข้ามขั้นไม่มีเลย ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ อย่างน้องอิงค์มีความพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ มันก็เลยไม่มีข้อเสีย เพราะถ้าเราไม่บอกใครว่าอายุ 15 ไม่มีใครรู้ เพราะเด็กมหา’ลัยเขาคุยกับน้องเขาไม่ได้รู้สึกว่าน้องง้องแง้ง

4 เ ท ค นิ ค สร้างลูกอัจฉริยะ

ข้อแรก ตั้งแต่ 6 ขวบ ครอบครัวของเรามีเงื่อนไขว่า ไม่ว่าจะไปไหน ใกล้ไกลให้ลูกถือหนังสือออกไป 1 เล่ม โดยไม่กำหนดว่าเป็นหนังสือประเภทไหน ซึ่งจุดนี้ทำให้น้องเก่งภาษาอังกฤษ

ข้อสอง ครูเก่ง เด็กเก่ง ไม่ได้ทำให้ประสบความเร็จทางด้านการศึกษาเสมอไป พ่อแม่ต้องเป็นผู้เลือกให้ครูตั้งแต่เล่มพื้นฐานจนถึงเล่มสุดท้าย เพราะถ้าครูเอาแค่สิ่งที่ติดตัวครูมาสอน เด็กจะไม่เก่ง”

ข้อสาม สอนให้ลูกมีวินัยในการใช้ชีวิตตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ ถึงเวลากิน ต้องกิน, ถึงเวลานอน ต้องนอน, ถึงเวลาขับถ่าย ต้องถ่าย แม้ไม่ปวดก็ต้องไปนั่งเพื่อขับถ่าย, ถึงเวลาอ่านหนังสือ ต้องอ่าน ซึ่งลูกๆ จะถูกฝึกฝนจนเป็นความเคยชิน และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีระบบ

ข้อสี่ น้องดูซีรีส์ ดูภาพยนตร์ เล่นเกม เช่นเดียวกับเด็กวัยรุ่นทั่วไป แต่จะไม่แนะนำให้ลูกเข้าไปดูนานๆ โดยยึดหลักที่ว่า “เข้าไปดูได้ แต่อย่าติด” จึงทำให้น้องรู้ในสิ่งที่สังคมกำลังฮิต และเข้าใจในเทรนด์ต่างๆ ของโลกอยู่เสมอ

คุณแม่ของน้องอิงค์ บอกเล่าอีกว่า “เคยมีญาติๆ พูดกับแม่ว่า แม่ตึงกับลูกๆ เกินไปหรือเปล่า แม่ยังไม่ทันได้อธิบายอะไร ลูกๆ ก็ตอบให้ว่า ถ้ารักหนู ต้องให้หนูเรียน เพราะหนูชอบ และหนูก็สามารถทำมันได้อย่างมีความสุข”

เรียบเรียงโดย ปริญญาชีวิต